12 April 2016

"MOU အလုပ္သမားတင္သြင္းသည့္ေအဂ်င္စီမ်ား ဥပေဒႏွင့္အညီလုပ္ၾကရန္ ညြန္ၾကားခ်က္ထုတ္"

     MOU ျဖင့္ အလုပ္သမားတင္သြင္းၾကသည့္ ေအဂ်င္စီမ်ားအေနျဖင့္ အလုပ္သမားမ်ား၏ ပတ္စပို႔မ်ားအားသိမ္းထားျခင္းမျပဳၾကရန္၊ လုပ္ငန္းစာခ်ဳပ္မ်ား  စနစ္တက်ခ်ဳပ္ဆိုထားၾကရန္၊
ဥပေဒအတိုင္းမညီညြတ္သည့္ ပြဲစားေအဂ်င္စီမ်ားအား ထိေရာက္စြာအေရးယူေဆာင္ရြက္မည္
ျဖစ္ေၾကာင္း ထိုင္းအလုပ္သမား၀န္ႀကီးဌာနမွအဓိပတိ အာရပ္ဖ႐ုန္းမနီ- က ယေန႔ ညႊန္ၾကား ခ်က္ ထုတ္ျပန္ပါသည္။    ။
.......................................................................................................................
กรมการจัดหางานเล็งจัดระเบียบบริษัทนำเข้า "แรงงานต่างด้าว" แก้ปม "เอาเปรียบ"
updated: 12 เม.ย 2559 เวลา 15:04:06 น.
 
นายอารักษ์ พรหมณี อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาบริษัทจัดหางานที่นำเข้าแรงงานต่างด้าวและแจ้งจด ทะเบียนเป็นนายจ้าง ก่อนจะส่งแรงงานไปทำงานเป็นลักษณะแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรก) ในจังหวัดต่างๆ ว่า ที่ผ่านมา พบปัญหาแรงงานต่างด้าวถูกยึดหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) และไม่ได้ทำสัญญาจ้างกับบริษัทที่ขอโควต้านำเข้าแรงงานต่างด้าว แต่กลับต้องทำสัญญากับบริษัทจัดหางานแทนซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง ดังนั้น กกจ.จะตรวจสอบบริษัทจัดหางานที่นำเข้าแรงงานต่างด้าวย้อนหลังว่ามีกี่บริษัท ที่เข้าข่ายลักษณะนี้ และมีแรงงานต่างด้าวที่บริษัทจัดหางานจดเป็นลูกจ้างกี่คน หากพบ กกจ.จะเข้าช่วยเหลือ และในฐานะนายทะเบียนจัดหางานกลางจะใช้อำนาจสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต อีกทั้งเชิญบริษัทที่รับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงานในลักษณะซับคอนแทรกหารือ เพื่อขอความร่วมมือให้ทำสัญญาจ้างกับแรงงานต่างด้าวโดยตรง

"ยอมรับว่าปัจจุบันไม่มีกฎหมายควบคุมโดยตรง กกจ.จึงได้จัดทำร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การนำการคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. … เพื่อให้มีมาตรการควบคุมการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในไทย โดยมีสาระสำคัญ ให้แรงงานต่างด้าวทำสัญญาจ้างโดยตรงกับสถานประกอบการที่ทำงาน โดยบริษัทจัดหางานห้ามทำสัญญาจ้างกับแรงงานต่างด้าวโดยตรง กำหนดความรับผิดชอบที่บริษัทจัดหางานและสถานประกอบการต้องมีต่อแรงงาน ต่างด้าวที่นำเข้ามาจนกระทั่งหมดสัญญาจ้างและเดินทางกลับประเทศต้นทาง และกำหนดโทษสำหรับบริษัทจัดหางาน โดยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ทั้งนี้ ได้มีการเสนอร่าง พ.ร.ก.ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว ซึ่ง ครม.รับหลักการแต่มีมติให้ส่งไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณารายละเอียด อีกครั้ง" นายอารักษ์กล่าว




ที่มา : มติชนออนไลน์